Select Page

ม.อ.ปัตตานี เปิดศูนย์พัฒนาวิชาชีพครูฯ ศูนย์เรียนรู้ด้านวิชาการ ของบุคลากรครูใน จชต.

     คณะครู บุคลากรและหน่วยงานพัฒนาทางการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมพิธีเปิดศูนย์พัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาภาคใต้ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 เวลา 10.00 น. ที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์พัฒนาวิชาชีพครูฯ โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษา วิจัย เรียนรู้วิชาชีพทางการศึกษาโดยกระบวนการเรียนรู้สู่การปฏิบัติตามความต้องการของชุมชน และเป็นศูนย์ประสานงาน ให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานภายในและภายนอกตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา พร้อมเป็นศูนย์กลางเครือข่ายพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งจะมีการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้บริการด้านงานวิชาการ
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวถึงผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาภาคใต้ คณะศึกษาศาสตร์ว่า มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านการศึกษา วิชาการและวิจัยให้กับมหาวิทยาลัย และจะเป็นศูนย์กลางการให้บริการทางวิชาการ เครือข่ายพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาสู่ความเป็นเลิศแห่งวิชาชีพทางการศึกษา ระดับคุณภาพการศึกษา ผ่านกิจกรรมและโครงการต่างๆ นำไปสู่การพัฒนาการศึกษาในภาพรวม ตลอดจนเชื่อมโยงเครือข่ายการพัฒนาบุคลกรทางการศึกษาในระดับนานาชาติ อย่างไรก็ตามคณะศึกษาศาสตร์เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ในการผลิตบัณฑิตให้เป็นครูมืออาชีพที่มีจิตวิญญาณในความเป็นครู มีความรู้คู่คุณธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
     นางอามีนา ไชยกุล นักวิเคราะห์นโยบานและแผน ชำนาญการพิเศษ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เผยว่า ศอ.บต. พร้อมส่งเสริมการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกมิติ ทั้งด้านการพัฒนาอาชีพ การท่องเที่ยว ความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรและนโยบายทางด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ตามแนวนโยบายของรัฐบาล เพื่อยกระดับจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในทุกมิติ ซึ่งที่ผ่านมา ศอ.บต. ได้จัดโครงการเพื่อส่งเสริมการศึกษาในพื้นที่อย่างหลากหลาย อาทิ โครงการอบรมหลักสูตรเทคนิคการสอนและผลิตสื่อการสอนภาษาไทยแก่บุคลากรครูในโรงเรียนพระราชดำริฯ โรงเรียนมัธยมศึกษาและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่ โครงการรอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะดนตรีให้กับบุคลากรของสถานศึกษา โครงการอบรมภาษาต่างประเทศ (ภาษาอาหรับ) โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักเรียนขาดแคลน เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เป็นต้น โดยจุดมุ่งหมายที่สำคัญในการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนผู้ด้อยโอกาส และส่งเสริมการศึกษาในพื้นที่ให้มีคุณภาพเทียบเท่ากับพื้นที่อื่นในประเทศและต่างประเทศ

 196 total views

ศอ.บต. สอดรับนโยบายแม่ทัพภาค 4 ฝึกอาชีพแก่ผู้ที่บำบัดรักษายาเสพติดพร้อมต่อยอดส่งเสริมอาชีพให้กลับมาทำงานในชุมชนตนเอง

     จากนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในฐานะหน่วยงานบูรณาการร่วม เพื่อป้องกัน ปราบปรามไม่ให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้ใช้ยาเสพติดรายใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีการปฏิบัติร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในสถานศึกษาและหมู่บ้าน ตลอดจนชุมชน ร่วมกันปราบปราม และเน้นการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อลดจำนวนผู้ค้ารายย่อยในระดับหมู่บ้านเป็นสำคัญ ด้วยการใช้กฎหมายพิเศษสนับสนุนการปฏิบัติ มีเป้าหมายขั้นต้นร่วมกัน 5,000 ราย และในด้านการบำบัดรักษา จะช่วยเหลือผู้เสพยาเสพติดทุกระดับ ทั้งระดับผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติด  และเป็นโรคจิตเภท (ประสาทหลอน) ด้วยการบำบัดรักษาตามระบบของรัฐบาล และระบบอื่น ๆ โดยเน้นให้เกิดระบบสมัครใจให้มากที่สุด มีเป้าหมายในระยะ 3 เดือนนี้ ไม่น้อยกว่า 5,000 คน และจะดำเนินการให้ได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 คน ในระยะต่อไป

     นอกจากนี้ในปีงบประมาณ 2562  ศอ.บต. ได้รับมอบหมายจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ให้เป็นหน่วยสนับสนุนในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ผ่านการบำบัดรักษาที่หายขาดจากการติดยาเสพติด จากทุกระบบ ทุกหน่วยงาน ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2560-2564 ยุทธศาสตร์ที่ 6 การติดตาม พัฒนาคุณภาพชีวิต ขยายผลความมั่นคง กลยุทธการบำบัดรักษายาเสพติดในแผนงานช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด

     นายสนั่น สนธิเมือง ผู้อำนวยการสำนักประสานนโยบายสังคมจิตวิทยา ศอ.บต. ให้สัมภาษณ์ว่า ในมิตินโยบายของแม่ทัพภาคที่ 4  ซึ่งเป็นวาระเร่งด่วนในการที่จะแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งระบบ ในส่วนนี้แม่ทัพภาค 4 ได้ให้ความสำคัญและเน้นย้ำ รวมทั้งเป็นนโยบายสำคัญ มีทั้งในเรื่องของการป้องกัน การปราบปราม การบำบัด ซึ่งแนวทางการบำบัดตั้งเป้าไว้ 10,000 คน หลังจากการบำบัดแล้ว ทาง ศอ.บต. จะเป็นหน่วยหลักในการที่จะส่งเสริมด้านอาชีพผู้ที่ผ่านการบำบัดและหายขาดซึ่ง ทาง ศอ.บต. ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลในการฝึกอาชีพให้ผู้ผ่านการบำบัด ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน โดยได้มีการดำเนินการไปแล้วประมาณ 3,000 กว่าราย ซึ่งทางจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ ในการคัดกรองเพื่อฝึกอาชีพตลอดจนการประเมินผู้ผ่านการบำบัด สำหรับในปี

 99 total views

ศอ.บต. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งแก้ไขปัญหาแรงงานประมงในพื้นที่ จชต.

    วันนี้ (8 พฤศจิกายน 2561) พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร รองเลขาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาแรงงานประมงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานการประชุม ณ ศาลากลางจังหวัดปัตตานี

    โดยในที่ประชุมได้มีข้อหารือเกี่ยวกับการขาดแคลนแรงงานประมง การนำเสนอรูปแบบแนวทางการแก้ไขปัญหานำแรงงานเข้ามาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นกรณีพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ เรื่องของข้อจำกัดแรงงานในเรือปั่นไฟ ซึ่งไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในเรือปั่นไฟได้ ในขณะที่ผู้ประกอบการไม่สามารถหาแรงงานคนไทย ที่จะสามารถทำงานในเรือปั่นไฟ รวมถึงการเสนอให้รัฐบาลซื้อเรือประมง ของผู้ประกอบที่ไม่ได้ทำธุรกิจ การเสนอให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ในพื้นที่ เพื่อสร้างกลไกในการแก้ไขปัญหาของแรงงานภาคประมง ตลอดจนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง การใช้สัญญาณของระบบ VMS ของเรือขาดหายทำให้ผู้ประกอบการ ผู้ที่ได้รับบทลงโทษตามกฎหมาย ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องทางด้านการประกอบธุรกิจ และการขอขยายระยะเวลาในการจับสัตว์น้ำ เป็นต้น

    ทั้งนี้พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร รองเลขาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการ ศอ.บต. ได้เปิดเผยในที่ประชุมว่า ครั้งนี้เป็นการหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาแรงงานประมงในพื้นที่ทุกมิติ โดยถือว่าเป็นทางเลือกหลักของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะการประมงสามารถทำรายได้อย่างมหาศาลให้กับพื้นที่ แต่ในห้วงเวลาที่ผ่านมาประมงส่วนหนึ่งได้ขาดแคลนแรงงาน เพราะแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว รวมถึงพื้นที่มีความห่างไกลและประสบกับปัญหาในเรื่องของความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ฯ ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะรีบเร่งแก้ไขปัญหาเพื่อให้ภาคประมงมีแรงงานที่เพียงพอ และสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างถูกกฎหมาย

    อย่างไรก็ตามการหารือในครั้งนี้ทาง ศอ.บต. จะนำเรียนเรื่องดังกล่าวให้นายกรัฐมนตรีได้รับทราบ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน โดยพร้อมที่จะขับเคลื่อนร่วมกับจังหวัดปัตตานีให้ปฏิบัติงานในกรอบของกฎหมายและรักษาสภาพแวดล้อมให้คงอยู่

 135 total views

ศอ.บต. จับมือ สาธารณสุข กวาดล้างโรคระบาดตั้งเป้าปี 63 โรคหัดหายไปจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

    พลเรือตรี สมเกียรติ  ผลประยูร รองเลขาธิการ ศอ.บต. รักษาราชการแทนเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ให้การต้อนรับคณะเจ้าหน้าที่ชายแดนภาคใต้ เพื่อเดินหน้าพื้นที่ปลอดหัด2563 โดยมีเป้าประสงค์ ในปี 2563 พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องเป็นพื้นที่ปลอดโรคหัดสาธารณสุขซึ่งเดินทางเข้าพบเพื่อหารือแนวทางสถานการณ์ระบาดของโรคหัดในพื้นที่จังหวัด
    โดยมาตรการการควบคุมป้องกันโรคหัด มีกลยุทธ์กำหนดใช้ มาตรการ 4 เคาะ เคาะกลุ่มสัมผัส ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เคาะประตูโรงพยาบาล มาตรฐานการจัดการระบบในหอผู้ป่วยหัดเพื่อควบคุมป้องกันการแพร่เชื้อหัดจากโรงพยาบาล  เคาะประตูบ้าน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดในกลุ่มเด็กอายุ 9 เดือน – 5 ปี ( 95- 100 %)  และเคาะประตูโรงเรียน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดในกลุ่มเด็กอายุ 5 – 12 ปี (100 %) ซึ่งปัญหาโรคที่ป้องกันด้วยวัคซีนที่เกิดกับเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดจากสาเหตุ ความไม่สะดวกในการฉีดวัคซีนเพราะอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ไม่เห็นความสำคัญในการฉีดวัคซีน  มีประสบการณ์ไม่ดีในการฉีดวัคซีนแล้วทำให้เกิดอาการป่วย และความเชื่อทางศาสนาว่าฉีดวัคซีนไม่ฮาลาลนั้นเป็นปัญหาเรื้อรังที่ต้องเร่งแก้ไขเพื่อป้องกันการป่วยและเสียชีวิตของเด็กในพื้นที่
    และในโอกาสเข้าพบครั้งนี้ พลเรือตรี สมเกียรติ  ผลประยูร รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวถึง  การประสานความร่วมมือกับ หน่วยงานความมั่นคง  ผู้นำศาสนา  ผู้นำชุมชน  สาธารณสุข  และทุกๆหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสื่อสารความเสี่ยงและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร สร้างความรู้ ความเข้าใจ ปรับทัศนคติในเชิงบวก  กำหนดกรอบทิศทางเร่งแก้ปัญหาโรคหัดให้หมดไปจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้เป็นพื้นที่ปลอดโรคหัด ป้องกันการป่วยและเสียชีวิตของเด็กในพื้นที่  ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ของศอ.บต. โดยจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานและอำนวยการกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การทำงานสอดคล้องและเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี  และจะทำงานบูรณาการร่วมกันกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

 88 total views

ทุกภาคส่วนรวมพลังต่อต้านยาเสพติด ในพิธีเปิด”ปฏิบัติการรวมพลังแก้ไขปัญหายาเสพติด คืนความสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้” ตั้งเป้า 3 เดือนแรก 5,000 ราย ปราบปราบผู้ค้ารายใหญ่ รายย่อย อย่างเข้มข้น พร้อมนำผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัด คืนคนดีสู่สังคมชายแดนใต้

     วันนี้ (2 พฤศจิกายน 2561) พลโท พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.ปส.จชต.) เป็นประธานเปิดกิจกรรม “ปฏิบัติการรวมพลังแก้ไขปัญหายาเสพติด คืนความสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้” ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
    โดยมีพลเรือตรี สมเกียรติ พลประยูร รองเลขาธิการ ศอ.บต. รักษาราชการแทนเลขาธิการ ศอ.บต. หัวหน้าส่วนราชการ รวมทั้งกลุ่มพลังมวลชน และประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมกว่า 1,000 คนซึ่งภายในงานมีการบรรยายสถานการณ์ยาเสพติด และกรอบแนวทางการปฏิบัติการแก้ปัญหา การดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการร่วมอำเภอ การบังคับใช้กฎหมายเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด กระบวนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติด นิทรรศการการดำเนินงานด้านยาเสพติด รวมทั้งการปล่อยแถวกำลังพลเรือน ตำรวจ ทหาร และภาคประชาชนออกปฏิบัติการ โดยมีการปฏิบัติหลักทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การป้องกัน การปราบปราม และการบำบัดรักษา กำหนดพื้นที่เป้าหมายในระดับหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้าน ใช้ศักยภาพของตำบลเป็นกลไกสำคัญ 290 ตำบล  ให้ศูนย์ปฏิบัติการร่วมอำเภอเป็นหน่วยงานควบคุมการปฏิบัติ และศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด เป็นหน่วยอำนวยการ ในด้านการป้องกันจะมีเป้าหมายไม่ให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้ใช้ยาเสพติดรายใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีการปฏิบัติโดยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในสถานศึกษาและในหมู่บ้าน ชุมชน ในด้านการปราบปรามจะเน้นการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อลดจำนวนผู้ค้ารายย่อยในระดับหมู่บ้านเป็นสำคัญ ด้วยการใช้กฎหมายพิเศษสนับสนุนการปฏิบัติ ซึ่งมีเป้าหมายขั้นต้น 5,000 ราย และในด้านการบำบัดรักษา จะช่วยเหลือผู้เสพยาเสพติดทุกระดับ ทั้งระดับผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติด และเป็นโรคจิตเภท ด้วยการบำบัดรักษาตามระบบของรัฐบาล และระบบอื่น ๆ โดยเน้นให้เกิดระบบสมัครใจให้มากที่สุด มีเป้าหมายในระยะ 3 เดือนนี้ ไม่น้อยกว่า 5,000 คน และจะดำเนินการให้ได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 คน ในระยะต่อไป
     ด้าน พลโท พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า สำหรับ 1 เดือนที่ผ่านมา ทุกฝ่ายได้มีการเตรียมการ ซึ่งต้องรวมพลังหลายภาคส่วน ทั้งทหาร ตำรวจ ผู้นำศาสนา ประชาชน ซึ่งปัญหายาเสพติดนี้เป็นปัญหาใหญ่ โดยทุกคน ทุกฝ่ายพร้อมที่จะร่วมมือทำให้เกิดปฏิบัติการวันนี้ขึ้นหลังจากนี้ ก็จะมีปฏิบัติการอย่างเข้มข้น ทั้งปราบปราบผู้ค้ารายใหญ่ รายย่อย และนำผู้ที่ติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดอย่างครบวงจร เพื่อคืนคนดีสู่สังคม สำหรับผู้ที่สมัครใจบำบัดก็สามารถออกมาได้เลย โดยแจ้งผ่านทางกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งจะใช้ ศูนย์ปฏิบัติการอำเภอ    ทั้ง 37 อำเภอในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำเนินการ โดยเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายก็จะทำงาน 24 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งทางรัฐบาลได้กำหนดไว้ และฝากผู้นำศาสนา ประชาชน ในหมู่บ้านเป้าหมาย เกือบ 2,000 หมู่บ้าน ให้ออกมาร่วมมือกัน
   นอกจากนี้ ทางเจ้าหน้าที่ยังได้ เปิด ตู้ ปณ.41 ให้ประชาชนแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับยาเสพติด โดยไม่ต้อลงชื่อ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ก็จะเข้าดำเนินการปราบปรามยาเสพติด เพื่อให้หมู่บ้านเหล่านั้นปลอดยาเสพติด เพื่อคืนความสุข บรรเทาความเดือดร้อน ให้กับประชาชน ต่อไป

 94 total views