Select Page

ผู้ว่าฯยะลา พร้อมด้วยนายกเทศมนตรีนครยะลา นำข้าราชการ ผู้บริหารเทศบาลนครยะลา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน พิธีหล่อเทียนพรรษาประจำปี 2567

วันนี้ (9 กรกฎาคม 2567) เวลา 13.30 น. ที่บริเวณสนามศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา อ.เมือง จ.ยะลา นายอำพล พงศ์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานในพิธีหล่อเทียนพรรษา ประจำปี 2567 ซึ่งทางเทศบาลนครยะลาได้จัดขึ้น เพื่ออนุรักษ์สืบสานประเพณีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ในเทศกาลวันเข้าพรรษา ประจำปี 2567 โดยมีนายอำนาจ ชูทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา คณะผู้บริหารเทศบาลนครยะลา เจ้าหน้าที่ บุคลากร ศอ.บต. หัวหน้าส่วนราชการ นักเรียน นักศึกษา พุทธศาสนิกชนในพื้นที่จังหวัดยะลาเข้าร่วม ทั้งนี้ก่อนเริ่มพิธีพระครูวรพุทธาภิรักษ์ ดร. เจ้าอาวาสวัดพุทธภูมิ พระอารามหลวง ประธานสงฆ์ ได้นำคณะสงฆ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ จากนั้นได้ประธานในพิธี นำส่วนราชการเทเทียนพรรษาในเบ้าหล่อเทียน พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ประธานในพิธีร่วมถวายปัจจัยไทยธรรมพระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนา โดยหลังเสร็จพิธี ประชาชนและผู้เข้าร่วมในพิธีได้ร่วมเทเทียนลงในเบ้าสู่การหล่อเทียนพรรษา เพื่อถวายเป็นเทียนพรรษาแก่วัด 17 แห่ง ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา

ทั้งนี้ เทศบาลนครยะลา ได้จัดงานสืบสานอนุรักษ์ประเพณีอันดีงาม ในเทศกาลวันเข้าพรรษา ประจำปี 2567 โดยในวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2567 จะมีการจัดพิธีสมโภชเทียนพรรษา ในเวลา 08.00 น. ณ สนามศูนย์เยาวชน เทศบาลนครยะลา เริ่มต้นกิจกรรมด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นำอาราธนาศีล 5 พระสงฆ์ให้ศีล 5 พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์สมโภชเทียนพรรษาถวายปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์พระสงฆ์อนุโมทนา และในวันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2567 มีพิธีแห่และถวายเทียนพรรษา ในเวลา 07.00 น. ณ เต็นท์พิธีการ สนามศูนย์เยาวชน ร่วมขบวนแห่เทียนพรรษาออกจากศูนย์เยาวชน เทศบาลนครยะลา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสุขยางค์ เลี้ยวขวาเข้าถนนสิโรรส ถนนรถไฟ ถนนพิพิธภักดี เพื่อให้พี่น้องประชาชน พุทธศาสนิกชนได้ร่วมอนุโมทนาบุญ หลักนั้น ทางเจ้าหน้าที่นำเทียนพรรษา ไปถวายตามวัดต่าง ๆ ที่ทางเทศบาลนครยะลา กำหนด จำนวน 17 วัด ต่อไป

 21 total views,  1 views today

สก.สว. หารือ จัดทำงานวิจัยตามความต้องการของคนในพื้นที่ จชต. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต

วันนี้ (9 ก.ค. 2567) ณ ห้องประชุมศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สก.สว.) จัดการประชุมบูรณาการงานวิจัยและใช้ประโยชน์จากผลการวิจัย เพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อหารือรับฟังแนวทางประเด็นในการทำวิจัย เพื่อเชื่อมโยงการทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รับฟังโจทย์ความต้องการของหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม และประชาชนในพื้นที่ ทั้งมิติความขัดแย้ง มิติการพัฒนาคุณภาพชีวิต มิติปัญหาทางสังคม เป็นต้น โดยมี แพทย์หญิง เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมเป็นประธานในการประชุมหารือ ซึ่งมีผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้แทนนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นในครั้งนี้

โดยผู้แทนจาก สก.สว. ได้เผยถึงการสนับสนุนการจัดทำ งานวิจัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) ที่ผ่านมาจนถึงปี 2567 ได้มีการสนับสนุนการทำวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ การเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูป การพัฒนาทักษะของเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ และงานวิจัยด้านการแพทย์ ในปีงบประมาณถัดไปจึงลงพื้นที่รับฟังความเห็นของคนในพื้นที่ เพื่อจัดทำนโยบายและเป้าหมายในการดำเนินงานวิจัยตามความต้องการของคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวให้ความเห็นตอนหนึ่งว่า การแลกเปลี่ยนในครั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน เนื่องด้วยเป็นคนนอกพื้นที่และเข้าดำเนินงานไม่นาน มองว่า ปัญหาที่ผ่านมาคือ การทุ่มเททรัพยากร งบประมาณ กำลังกายเพื่อดำเนินงานวิจัย แต่ยังไม่รู้สึกว่ามีหน่วยงานใดนำงานวิจัยที่ทำมาไปใช้ประโยชน์ ถ้าทำงานวิจัยตั้งไว้แล้วยังไปไม่สุด และตั้งคำถามว่าจะเดินหน้าอย่างไรต่อไปนั้น ขอเสนอให้ทำการวิจัยสักเรื่อง ว่าเหตุใดทำงานวิจัยเสร็จแล้วๆไม่มีใครนำไปใช้จริง อีกเรื่องคือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ทุกวันนี้มีนักศึกษาในพื้นที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อทำงานจริงกลับไม่มีทักษะที่น่าพอใจ เราหวังให้คนมาลงทุน คนลงทุนก็หวังหาทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพเช่นกัน ยืนยันว่า ในเชิงนโยบายแล้ว ถ้าสามารถทำให้คนของเราเก่งมากขึ้น เก่งในระดับมาตรฐาน เชื่อมั่นว่าไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ก็สามารถเดินหน้าประสบความสำเร็จได้ เพราะฟันเฟืองที่เป็นตัวบุคคลนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ด้วยเหตุการณ์ความไม่สงบ รัฐบาลได้ให้โอกาสพื้นที่มากพอสมควร ทุกหน่วยจึงต้องใช้โอกาสนี้ให้เกิดความคุ้มค่า หวังให้มีการผลักดันคนคุณภาพ เพื่อผลักดันความเจริญในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ศอ.บต. พร้อมทำงานร่วมกับทุกหน่วย ในการยกระดับคุณภาพของเยาวชนและประชาชนในพื้นที่

ด้านแพทย์หญิง เพชรดาวโต๊ะมีนา กล่าวว่า เห็นด้วยในความเห็นของ เลขาธิการ ศอ.บต. ในกรณีของการทำงานวิจัยแต่ไม่มีหน่วยงานใดนำงานวิจัยที่มีคุณภาพไปใช้ เราไม่มีอำนาจมากพอในการจะขอให้หน่วยงานใดๆสานต่อ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความตั้งใจของทีมในการสนับสนุนงานวิจัย ก็เพื่อยกระดับทุกด้านในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มิใช่ทำงานวิจัยและวางไว้บนหิ้ง

ทั้งนี้ สก.สว. จะมีการจัดการประชุมบูรณาการงานวิจัยและใช้ประโยชน์จากผลการวิจัย เพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในช่วงบ่าย เพื่อรับฟังประเด็นในการกำหนดนโยบายทำงานวิจัยในปีถัดไปด้วย

 34 total views

สมช.ติดตามการแก้ไขปัญหาครัวเรือนยากจน ของศอ.บต. ภายใต้โครงการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่ แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

วันนี้ (9 กรกฎาคม 2567) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาความยากจนภายใต้โครงการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่แนวทางด้านการพัฒนาแผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีนายนันท์พงศ์ สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พร้อมด้วยพลโท ธานินทร์ ชัยวีรกุล ที่ปรึกษากองความมั่นคงจังหวัด ชายแดนภาคใต้และชนต่างวัฒนธรรมสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ผู้แทนจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุมปัญจเพชร ชั้น 3 ศอ.บต.

ทั้งนี้ในที่ประชุมได้มีการนำเสนอนโยบาย/แผนงาน/โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ตามมติ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 และกรอบการดำเนินตามเป้าหมาย/ตัวชี้วัดระดับ แนวทางด้านการพัฒนา และระดับโครงการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่ แผนงาน บูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ 2567 และรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการบูรณาการขจัด ความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2567 – 2570) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามเป้าหมาย 14,500 ครัวเรือน และความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจนตามเป้าหมาย/ตัวชี้วัด จำนวน 1,000 ครัวเรือน ภายใต้โครงการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่ แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 และการบูรณาการเป้าหมายครัวเรือนยากจนตามแผนปฏิบัติ การฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 14,500 ครัวเรือน

นอกจากนี้ในช่วงบ่ายคณะฯลงพื้นที่ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี เพื่อติดตามผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจน และรับทราบปัญหา อุปสรรคจากในพื้นที่ จำนวน ๕ ครัวเรือน ที่ได้มีการขับเคลื่อนกิจกรรม เช่น การส่งเสริมอาชีพเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่เพื่อความมั่นคงให้กับประชาชน และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส/ครัวเรือนยากจน กิจกรรมส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน

 93 total views

ผู้ช่วยเลขาฯ ศอ.บต. บรรยาย หัวข้อ “การสร้าง เครือข่ายผู้บริหารและการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม” แก่บุคลากรสาธารณสุข

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 นายแพทย์สมหมาย บุญเกลี้ยง ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นวิทยากรบรรยายให้กับวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา โดยกลุ่มงานพัฒนากำลังคน ร่วมกับ วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข ในหัวข้อ “การสร้าง เครือข่ายผู้บริหารและการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม” บรรยายรูปแบบในชั้นเรียน ณ โรงแรมหรรษาเจบี อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา การดำเนินการจัดโครงการอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง รุ่นที่ ๓๗ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ซึ่งจัดอบรมระหว่างวันที่ ๑๗ มิถุนายน – ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๗

โดยมีการอบรมในรูปแบบออนไลน์ผสมผสานกับในชั้นเรียน ณ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา และ โรงแรมหรรษาเจบี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ สมรรถนะในด้านการบริหารจัดการ และการบริหารงานตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับนักบริหารระดับกลางเป็นเวทีในการ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เสริมสร้างเครือข่ายในการทำงาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรสาธารณสุข จำนวน ๘๖ คน ทาง ศอ.บต.ให้ความสำคัญการพัฒนาบุคลากรทุกระดับเพื่อทำหน้าที่บริการประชาชนให้ดีที่สุดที่ได้ถ่ายทอดการทำงานให้ได้ประโยชน์สูงสุดกับประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำหน้าที่วิชาชีพของตนเอง ภารกิจหลักของกระทรวงสาธารณสุข การออกแบบการบริการเพื่อให้ได้best service การบริการแบบองค์รวมที่เอาใจเขามาใส่ใจเรา การใช้ชีวิต work life balance การเชื่อมั่นการทำความดี การสร้างเครือข่ายด้วยการเป็นผู้ให้ และอีกมากมาย ซึ่งบรรยากาศมีเสียงหัวเราะ รอยยิ้ม เสียงตบมือ จนหลายคนบอกทำให้มีพลังใจพลังบวกและจะนำไปปรับการทำงานของตัวเองต่อไป

 18 total views

เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา จัดสัมมนา “พหุภาคีในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่างและสามจังหวัดชายแดนใต้ โหม๋ภาคีพร้อมพรั่ง เพิ่มพลังแก้จน…ปรับปรนผลงาน ความรู้ เทคโนโลยีพร้อมใช้ โยงใยสู่ชุมชนนักปฏิบัติ” ยกระดับคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ อย่างแท้จริง

วันที่ 8 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องน้ำพราว โรงแรมซีเอส ปัตตานี จังหวัดปัตตานี หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างและสามจังหวัดชายแดนใต้ จัดงานสัมมนา “พหุภาคีในพื้นที่จังหวัดภาคใต้แก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ ภายใต้หัวข้อ “โหม๋ภาคีพร้อมพรั่ง เพิ่มพลังแก้จน … ปรับปรนผลงาน ความรู้ เทคโนโลยีพร้อมใช้ โยงใยสู่ชุมชนนักปฏิบัติ” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่อย่างแท้จริง โดยมี แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดการสัมมนา นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. ผศ.ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยวรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม

ในการนี้นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. ยังได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ”เรื่องการขับเคลื่อนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและยกระดับฐานะทางสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้“ ร่วมกับนางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ผศ.ดร.อัตชัย เอื้ออนันตสันต์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผศ.ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผศ.ดร.ปรีชา สะแลแม อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูล และร่วมกันบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ (DSS)พื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและยกระดับฐานะทางสังคมในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเป็นการเปิดมิติใหม่สลายความรุนแรงชายแดนใต้ด้วยพลังความรู้สร้างอาชีพ

แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้กล่าวสะท้อนความเห็นต่อผลงาน ความรู้ และเทคโนโลยีพร้อมใช้กับชุมชนนักปฏิบัติ ว่า ที่ผ่านมาได้ติดตามการกระบวนการดำเนินงานและผลงานจากโครงการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจน ทั้ง 6 มหาวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนจากหน่วย บริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)มาอย่างต่อเนื่อง เห็นบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อน การนำองค์ความรู้ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ (อววน.) สู่การพัฒนาพื้นที่นับว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของงาน นั่นคือ การใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาหนุนเสริมงานแก้ไขปัญหาความยากจนที่ปรากฏผลอย่างเป็นรูปธรรม ดังตัวอย่างผลงานกว่า 100 โมเดลแก้จนและเทคโนโลยีพร้อมใช้ทุกสถาบันการศึกษา ที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้ทั้งนี้ รัฐมนตรี มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกระทรวงเศรษฐกิจ สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนและประเทศ โดยใช้ความรู้และนวัตกรรมที่มี เป็นความหวัง เป็นที่พึ่งให้ประชาชนในการพัฒนาเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาสำคัญ ซึ่งตรงกับเป้าหมายการดำเนินงานของโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ทั้ง 6 มหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ที่เรามักพูดถึงสันติภาพที่กินได้ นั่นคือ การดูแลพี่น้องประชาชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างสันติภาพในพื้นที่

ผศ.ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม วิทยาเขตปัตตานี(ม.อ.ปัตตานี) กล่าวว่า การสัมมนาในครั้งนี้เกิดขึ้นจากข้อตกลงร่วมกันของมหาวิทยาลัยที่ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา ระดับพื้นที่ หรือ (บพท.) เครือข่ายมหาวิทยาลัยในพื้นที่ภาคใต้และภาคใต้ตอนล่างได้ตกลงกันว่าจะมีการประชุมเพื่อพัฒนาเครือข่าย ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน การจัดงานครั้งนี้ มุ่งเสนอให้เป็นการบูรณาการงานโครงการที่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)สนับสนุนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเกิดเป็นการจัดงานความร่วมมือเครือข่ายสถาบันวิชาการภาคใต้ ทั้งในกลุ่มโครงการพื้นที่ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาความยากจนหรือที่เราเรียกกันว่า SRA Strategic Research Area กลุ่มโครงการเทคโนโลยีพร้อมใช้ หรือ App tech โครงการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่ และโครงการคลัสเตอร์ นอกจากนั้น ยังมีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มาร่วมเป็นเครือข่าย และจัดแสดงผลงาน โดยมีบูธนิทรรศการ โมเดลแก้จนและเทคโนโลยีพร้อมใช้กว่า 100 บูธ นอกจากนั้นยังมีตัวแทนชุมชน ตัวแทนผู้ประกอบการและนักวิจัยมาร่วมให้ข้อมูลที่บูธ ล้วนเกิดจากการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันและออกแบบเครื่องมือที่สามารถแก้ปัญหาและช่วยให้ครัวเรือน กลุ่ม และชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สะท้อนเป้าหมายหลักของงานแก้จน คือ poor 2power คือ การเสริมพลังให้ครัวเรือนเป้าหมายสามารถสร้างรายได้และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ด้วยพลังความร่วมมือของทุกภาคส่วน รวมถึงก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาความรู้ ที่ผสมผสานความรู้วิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งผลต่อการพัฒนาบทบาทสถาบันวิชาการที่จะเป็นกลไกเสริมพลังความร่วมมือในการยกระดับคุณภาพชีวิต ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา และยกระดับการพัฒนา ทักษะฝีมือที่ตอบโจทย์ความต้องการในระดับพื้นที่อย่างแท้จริง

 63 total views

ศอ.บต. จัดเวทีประชาคม เปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ร่วมเสนอโครงการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ จ.สตูล ให้เกิดความยั่งยืน

วันนี้ (7 กรกฎาคม 2567) เจ้าหน้าที่ กองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ลงพื้นที่จังหวัดสตูล เพื่อเปิดเวทีประชาคมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเศรษฐกิจชุมชนในระดับหมู่บ้านและชุมชน โดยการลงพื้นที่ในครั้งนี้ มีเป้าหมายเป็นพื้นที่ทั้งหมด 7 อำเภอ 36 หมู่บ้าน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 18 กรกฎาคม 2567 ซึ่งพื้นที่แรกได้ลงไปยังหมู่ที่ 2 ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ซึ่งมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมจำนวนมาก

จากนั้นคณะฯ ลงพื้นที่ไปยัง มัสยิดอะห์มาเดี๊ยะ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เพื่อเปิดเวทีประชาคมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเศรษฐกิจชุมชนในระดับหมู่บ้านและชุมชน แห่งที่ 2 โดยมีนายก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา เจ้าหน้าที่ปกครอง บัณฑิตอาสาฯ ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ตำบลเจ๊ะบิลัง ร่วมรับฟัง

สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ สืบเนื่องจากมีมติการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบหลักการโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเศรษฐกิจชุมชน ระดับหมู่บ้านและชุมชน โดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นแกนหลัก พ.ศ. 2566 – 2570 (ระยะเวลา 5 ปี) ซึ่งรัฐบาลมอบหมายให้ ศอ.บต. เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบดำเนินโครงการ

อย่างไรก็ตาม ศอ.บต. กำหนดจัดกิจกรรมเวทีประชาคมการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเศรษฐกิจชุมชนในระดับหมู่บ้านและชุมชน ในห้วงเดือน กรกฎาคม 2567 โดยดำเนินการ 36 หมู่บ้าน/ชุมชน ได้แก่ 1. อำเภอเมือง ประกอบด้วย ตำบลพิมาน ตำบลคสองชุด ตำบลควนชัน ตำบลบ้านควน ตำบลฉลุง ตำบลเกาะสาหร่าย ตำบลตันหยงโป ตำบลเจ๊ะบิลัน ตำบลตำมะลัง ตำบลปู ตำบลควนโพธิ์ ตำบลเกตรี 2. อำเภอควนโดน ประกอบด้วย ตำบลควนโดน ตำบลควนสตอ ตำบลย่านชื่อ ตำบลวังประจัน 3. อำเภอควนกาหลง ประกอบด้วย ตำบลทุ่งนุ้ย ตำบลควนกาหลง – อุใดเจริญ 4. อำเภอท่าแพ ประกอบด้วย ตำบลท่าแพ ตำบลแป-ระ ตำบลสาคร ตำบลท่าเรือ 5. อำเภอละงู ประกอบด้วย ตำบลกำแพง อำเภอละงู ตำบลเขาขาวตำบลปากน้ำ ตำบลน้ำผุด ตำบลแหสมสน 6. อำเภอทุ่งหว้า ประกอบด้วย ตำบลทุ่งหว้า ตำบลนาทอน ตำบลขอนคลาน ตำบลทุ่งบุหลัง ตำบลป่าแก่บ่อหิน และ 7. อำเภอมะนัง (ปาล์มพัฒนา ตำบลนิคมพัฒนา เพื่อจัดประชาคม พิจารณาปัญหาความต้องการที่จำเป็นเร่งด่วนของหมู่บ้าน ทั้งขับเคลื่อนข้อเสนอของประชาชน ผ่านเวทีประชาคม ซึ่งมีประชาชนเป็นผู้เสนอโครง ร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาในทุกมิติต่อไป

 59 total views