Select Page

ศอ.บต.ดำเนินการแก้ไขปัญหาร้องเรียนของประชาชนผ่านสายด่วน 1880 อย่างเป็นรูปธรรม โดย เลขาธิการ ศอ.บต.ระบุ ทุกปัญหาต้องมีคำตอบภายใน 10 นาที จากการดำเนินงานตามนโยบายของ ศอ.บต.ตามโครงการคลายทุกข์ที่ต้นทาง จัดขึ้นเพื่อต้องการให้การแก้ไขปัญหาความเดือดร้

      จากการดำเนินงานตามนโยบายของ ศอ.บต.ตามโครงการคลายทุกข์ที่ต้นทาง จัดขึ้นเพื่อต้องการให้การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน การให้ความช่วยเหลือและการอำนวยความเป็นธรรมแก่ประชาชน โดยศอ.บต.ทำงานร่วมกับเครือข่ายต่างๆ โดยเฉพาะบัณฑิตอาสาเครือข่ายยุติธรรมชุมชน นิติกรอำเภอหรือล่าม ที่อยู่ประจำอำเภอที่ให้การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาอำนวยความเป็นธรรมให้กับประชาชนในระดับหมู่บ้าน ทำให้การบริการประชาชนมีความทั่วถึง เสมอภาค ยุติธรรม รวมเร็ว ลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ประชาชนได้รับความพึงพอใจ ผ่าน สายด่วน 1880 สายด่วนอุ่นใจ โทรฟรี 24 ชั่วโมง นั้น
 
     ในการนี้ เลขาธิการ ศอ.บต. ได้มีดำริให้มีการประเมินการปฏิบัติงานด้านผลการพึงพอใจของประชาชนด้านการบริการภาครัฐ โดยมีนโยบายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของ ศอ.บต.ได้เพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินงานโดยได้จัดทำแบบฟอร์มการรายงานผ่าน สายด่วน 1880  โดยระบุข้อมูล ผู้แจ้งเรื่อง เรื่องที่แจ้ง และชื่อผู้รับเรื่อง โดยให้รีบดำเนินการต่อไปยังหน่วยงานหรือส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้รายละเอียด ข้อมูลแก่ประชาชน ใช้เวลา ไม่เกิน 10 นาที  โดยให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ทีเกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

 415 total views

ศอ.บต.แก้ไขปัญหาจากข้อร้องเรียนของประชาชนผ่านทาง สายด่วน 1880 ตามโครงการสุขใจที่ได้ช่วย

     จากข้อร้องเรียนของประชาชนที่ใช้รถใช้ถนนเดินทางสัญจรไป-มา บนถนนสาธารณะในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้(ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ผ่านสายด่วน 1880 กรณีที่มีกลุ่มบุคคลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นได้ตั้งจุดสกัดบนถนนสาธารณะ โดยใช้กรวยหรือสิ่งกีดขวางให้รถสัญจรผ่านไปมาหยุดเพื่อขอรับบริจาคเงิน โดยอ้างว่านำไปสมทบทุนการกุศล ต่อมา ศอ.บต. ได้ดำเนินการแจ้งข้อร้องเรียนเพื่อหารือไปยังสำนักจุฬาราชมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจาจังหวัดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลาและสตูล) ว่าการดำเนินการของกลุ่มบุคคลดังกล่าวชอบด้วยหลักการปฏิบัติของศาสนาอิสลามหรือไม่ประการใดและหากสามารถดำเนินการได้ควรจะมีแนวทางปฏิบัติอย่างไร เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อ ผู้สัญจรไป-มา บนท้องถนนสาธารณะ
 
     โดยทาง ศูนย์ดำรงธรรม ศอ.บต.และศูนย์ดำรงธรรม จชต. ได้ประสานไปยังสำนักจุฬาราชมนตรี สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานีและสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลาและได้รายงานผลการดำเนินการให้ ศอ.บต. ทราบแนวทางปฏิบัติสอดคล้องต้องกันในสาระสำคัญว่า ศาสนาอิสลามส่งเสริมและสนับสนุนให้ศาสนิกบริจาคเพื่อศาสนาและสาธารณะ โดยการบริจาคนั้น ห้ามมิให้บังคับ ขู่เข็ญ หรือสร้างความลำบากใจ หรือสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น และได้พิจารณาตามหลักการศาสนาแล้วการปฏิบัติของกลุ่มบุคคลเพื่อขอรับบริจาคสมทบทุนการกุศลเป็นการขอรับบริจาคเพื่อการกุศลที่ไม่ผิดตามบทบัญญัติศาสนาอิสลาม แต่หากการปฏิบัติดังกล่าวเป็นการรบกวนหรือทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้อื่นในการใช้เส้นทางสาธารณะ สัญจรไปมา ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง และถ้ามีความจำเป็นตามการพิจารณาของผู้นำศาสนาหรือผู้นำท้องถิ่นในท้องที่นั้นๆ แล้ว ควรให้มีบริจาคเฉพาะบริเวณในงานหรือถนนสาธารณะบริเวณหน้างานเท่านั้น

 358 total views,  1 views today

ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ คสช.และรัฐบาล

     “SUARA POLL (ซัวราโพล) เสียงสะท้อนชายแดนใต้” หรือสำนักโพลของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาล จำนวน 3 ครั้ง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ 37 อำเภอของจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา 4 อำเภอ (เทพา นาทวี จะนะ และสะบ้าย้อย) โดยสำนักนโยบายและแผน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แจ้งผลการสำรวจดังนี้
 
     ครั้งที่ 1 สำรวจความคิดเห็นของประชาชน 4 เดือน (มิถุนายน – กันยายน 2557) ซึ่งอยู่ในช่วงของการบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้ประชากรตัวอย่าง 1,850 ตัวอย่าง ปรากฏผลว่า ประชากรมีความรู้สึกว่าเหตุการณ์ความไม่สงบลดลง โดยร้อยละ 78 ตอบว่า มีความมั่นใจในด้านความปลอดภัยมากขึ้น เหตุการณ์ลดลงจริง ประชาชนวางใจในแนวทางของ คสช. โดยร้อยละ 72 ตอบมั่นใจว่า คสช.มาถูกทาง และเชื่อมั่นว่าการปฏิบัติงานของทหาร ตำรวจ และพลเรือนเกิดเอกภาพ โดยร้อยละ 86 มั่นใจในบทบาทของศูนย์ปฏิบัติการอำเภอ (ศปก.อำภอ) ที่ร่วมบูรณาการปฏิบัติในพื้นที่ให้เกิดเอกภาพ
 
     ครั้งที่ 2 สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ พ.ศ.2558 (ตุลาคม – ธันวาคม 2557) ใช้ประชากรตัวอย่าง 1,850 ตัวอย่าง เพื่อประเมินซ้ำ ยืนยันความเชื่อมั่นของประชาชนในครั้งแรก ซึ่งอยู่ในช่วงการบริหารประเทศของรัฐบาล ปรากฏผลว่า ประชาชนพอใจในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 36.19 ประชาชนเชื่อมั่นวางใจในแนวทางของรัฐบาล ทำให้เกิดสันติสุขได้เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 44.78 และเชื่อมั่นว่าศูนย์ปฏิบัติการอำเภอ (ศปก.อำเภอ) มีการบูรณาการอย่างมีเอกภาพเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 38.67 รวมทั้งประชาชนพอใจในการปฏิบัติการของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ตำบล หมู่บ้านของตนเอง
 
     ครั้งที่ 3 สำรวจความเห็นประชาชน เรื่องหนึ่งปี คสช.กับการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (22 พฤษภาคม 2557 – 22 พฤษภาคม 2558) ใช้ประชากรตัวอย่าง 5,045 ตัวอย่าง ปรากฏผลว่า ประชาชนมีความพึงพอใจมากต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ร้อยละ 68.20 และประชาชนเชื่อมั่น ไว้วางใจการทำงานของ คสช. มีความพึงพอใจมากร้อยละ 72.20
 
     จากผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชน 3 ครั้ง ดังกล่าว เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยันการพัฒนาเชิงบวกในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสร้างความเป็นเอกภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาคใช้ ทำให้ประชาชนเชื่อมั่นวางใจในแนวทางเสริมสร้างสันติสุข และพูดโดยทั่วกันว่า “ชายแดนใต้วันนี้ดีขึ้นแล้ว”

 361 total views