Select Page

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 เวลา 14.00 น. พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการ ศอ.บต. มอบหมายให้ นางเปรมวดี ขวัญเพชร ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. (พณ.) เป็นผู้แทน ศอ.บต. เข้าร่วมประชุม “เครือข่ายนวัตกรรมในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน” ณ ห้องประชุม จาบังตอกอ โรงแรมซีเอส ปัตตานี อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี โดย มี แพทย์หญิง เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการประชุม โดยการประชุมในครั้งนี้ดำเนินการจัดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักธุรกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เคยเข้าร่วมโครงการการพัฒนาวัตกรรมได้มีพบปะและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ได้เสนอแนะการดำเนินงานพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม(Smart SMEs) วิสาหกิจเริ่มต้น (Start-up) ในพื้นที่ภาคใต้ชายแดนในอนาคต เพื่อสามารถสร้างสินค้านวัตกรรมออกสู่ตลาด เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างโอกาสในการแข่งขันให้กับพื้นที่ในอนาคตได้

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้เรียนต่อที่ประชุมว่า สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติเป็นหน่วยให้ทุนหนึ่งใน 9 หน่วย ของกระทรวง อว. ที่ดำเนินการให้ทุนการพัฒนานวัตกรรมเป็นการเฉพาะกับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มากว่า 7 ปี ร่วมวงเงินที่ได้สนับสนุนไปแล้วว่า 300 ล้านบาท เกิดผู้ประกอบการนวัตกรรมในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน กว่า ราย โดยสินค้านวัตกรรมที่ เด่นๆ เช่น กลุ่มอาหาร กลุ่มเทคโนโลยี IOT กลุ่มการออกแบบลายผ้า และ อื่นๆ และจะยังคงสนับสนุนต่อไป โดยจะมีการปรับแผนการดำเนินงานและงบประมาณให้ตอบโจทย์ต่อการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมในพื้นที่ภาคใต้ชายแดนให้ดีมากยิ่งขึ้น โดยวันนี้จะขอข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ประโยชน์ปรับปรุงการดำเนินการต่อไป

นางจุฑารัตน์ ไลวานิช ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี ตัวแทนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า ปัญหาอุปสรรค หลักๆในการสร้างสินค้านวัตกรรมเพื่อออกไปสู่การแข่งขันกับตลาดภายนอก ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ยังติดปัญหาเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน จากสถาบันการเงิน เพื่อต้องการนำเงินมาลงทุนสร้างโรงงานผลิต ติดตั้งเครื่องมือเครื่องจักรที่ได้มาตรฐาน เพื่อผลิตสินค้าที่ได้วิจัยศึกษามาจัดจำหน่ายได้ แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่ขาดเงินทุน การผลิตจึงยังทำได้อย่างจำกัด อยากให้ทาง กระทรวง อว. ช่วยเหลือเรื่อง การทำความร่วมมือกับสถาบันการเงิน เพื่อปล่อยสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการนวัตกรรมโดยเฉพาะ หรือหารูปแบบกลไกอื่นๆมาสนับสนุนให้ การกู้เงินทำได้สะดวกยิ่งขึ้น

โดยในเวทีนี้ ศอ.บต. ได้เสนอการแก้ไขปัญหา โดยขอให้ทางกระทรวง อว. จัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการส่งเสริมนวัตกรรม (Start-up Fund) หรือการส่งเสริมให้ มหาวิทยาลัยสามารถร่วมลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมที่มาจากฐานการวิจัย (Holding Company)

 82 total views,  1 views today