Select Page

พิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน เป็น 1 ในสถานที่ ที่คณะผู้แทนจากประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม 8 ประเทศ เตรียมลงพื้นที่ในวันที่ 11 – 13 มิถุนายน 2567 นี้ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ ได้จับมือกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความต้องการ ที่จะให้คณะ oic ได้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของรัฐบาลไทย ในการแก้ปัญหา และ พัฒนา พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ส่งเสริมสนับสนุน การดำเนินกิจกรรม ของทุกศาสนิก ในพื้นที่ ซึ่งการเดินทางเยือนพื้นที่ชายแดนใต้ ของ คณะ oic อยู่ภายใต้กิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจและสานสัมพันธ์คณะทูตกลุ่มประเทศมุสลิมประจำปี 2567 ทั้งนี้เพื่อต้องการที่จะสะท้อนถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก

สำหรับการก่อสร้าง อาคารพิพิธภัณฑ์ มรดกทางวัฒนธรรม ศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน นั้น มูลนิธิพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและมีคัมภีร์อัลกุรอาน ได้ยินยอมให้กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมใช้ที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองของมูลนิธิ เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ เนื่องจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เนื่องจากมีคัมภีร์อัลกุรอานโบราณที่คัดด้วยลายมือเก็บรวบรวมและดูแลรักษาไว้ ประมาณ ๗๐ เล่ม มาจากในประเทศและต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ตุรกี สเปน และเยเมน เป็นต้น ซึ่งมีอายุประมาณ 100 – 1,100 ปี โดยลักษณะการเขียนจะใช้น้ำหมึกสีดำเป็นภาษาอาหรับโบราณ ปกส่วนใหญ่หุ้มด้วยหนังสัตว์ บางหน้าตกแต่งลวดลายโดยใช้สีประดับกรอบด้วยทองคำเปลวเขียนด้วยศิลปะลาย มลายูนูซันตารา จีน และอาหรับ มาผสมผสานกัน จึงได้เล็งเห็นคุณค่าความสำคัญของคัมภีร์เหล่านี้ ซึ่งถือเป็นมรดกอันทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมอิสลาม จึงเกิดแนวคิดในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอานขึ้นมา

โดยพิพิธภัณฑ์ฯ จะประกอบด้วยห้องจัดแสดงได้แก่ ห้องวิถีชีวิตมุสลิมและห้องจัดแสดงนิทรรศการหลัก ๔ หัวข้อ ประกอบด้วย ๑) เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และรัชกาลที่ ๑๐ ๒) หลักมุสลิม ๓) วิถีชีวิต ๔) ถิ่นมุสลิม และห้องจัดแสดงคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งมีการจัดแสดงคัมภีร์อัลกุรอานโบราณ และวัตถุที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่สมควรแก่การส่งเสริม ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเชิงอัตลักษณ์วัฒนธรรม และวิธีชีวิต ของคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอานรัฐบาลไทยได้มีการสนับสนุนงบประมาณตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งมีพื้นที่ ๗ ไร่ ๒๕ ตารางวา ตั้งอยู่บ้านศาลาลูกไก่ หมู่ ๖ ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

 101 total views,  3 views today