Select Page

พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ของระบบนิเวศวิทยา โดยประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรฯ มาเป็นเวลาช้านาน ในอดีตพบว่า เกษตรกรในหลายพื้นที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้ ด้วยประสบปัญหาเรื่องของดินเค็ม ดินเปรี้ยว และการขาดน้ำ จึงทำให้ความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้อยู่ในภาวะสั่นคลอน ด้วยเหตุนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริให้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2524 ให้เป็นศูนย์รวมกำลังของเจ้าหน้าที่ด้านเกษตร สังคม และการส่งเสริมการศึกษามารวมอยู่ด้วยกัน เพื่อให้ความรู้ และช่วยอนุเคราะห์ด้านวิชาการแก่ประชาชน ในการประกอบอาชีพและพัฒนาตนเอง จึงนับเป็นความภาคภูมิใจ และปลื้มปิติแก่พสกนิกรในพื้นที่ ที่ได้รับพระราชทานความช่วยเหลือ ให้สามารถประกอบอาชีพทางการเกษตรมาจนถึงทุกวันนี้

เพื่อเป็นการเผยแพร่พระปรีชาสามารถ ของพระมหากษัตรทย์ไทย และ น้ำพระราชหฤทัย ในการช่วยเหลือพสกนิกร ในวันที่ 11 – 13 มิถุนายน 2567 ที่จะมาถึงนี้ กระทรวงการต่างประเทศ และ ศอ.บต จะได้นำ คณะทูตกลุ่มประเทศมุสลิม หรือ OIC จะเดินทางลงมาเยือนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปเยี่ยมชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่ได้ดำเนินงานตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการดูแล รักษา “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” ซึ่งเปรียบเสมือนตัวอย่างแห่งความสำเร็จของการศึกษาและการพัฒนา ที่จะสามารถเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่ราษฎร พร้อมทั้งได้เผยแพร่ผลสำเร็จจากการดำเนินงานถ่ายทอดไปสู่พี่น้องประชาชน เพื่อนำไปเป็นต้นแบบปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองและชุมชนให้ได้รับประโยชน์สุขโดยทั่วกัน

สำหรับ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ถือเป็นศูนย์พัฒนาพื้นที่ดินพรุโครงการแกล้งดินอันเป็นต้นแบบการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว ซึ่งเป็นดินคุณภาพต่ำไม่เหมาะแก่การปลูกพืชทำการเกษตร เนื่องจากในดินมีกรดกำมะถันทำให้ดินเปรี้ยว “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริให้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ขึ้นในปี พ.ศ. 2525 เพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไปอย่างยั่งยืน ไม่ให้ที่ดินเปล่าประโยชน์ ทำการศึกษาวิจัยทดลอง เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ดินพรุให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ภายใต้การดำเนินงานในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต และยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่เปิดให้ประชาชนทั่วประเทศสามารถเข้าศึกษาเรียนรู้เรื่องของการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริแห่งนี้ คือตัวอย่างแห่งความสำเร็จในการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ที่สามารถให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามาเรียนรู้ และนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตของตนเอง รวมทั้งสามารถนำไปสู่การพึ่งตนเองได้ยั่งยืนสืบไป

 82 total views,  2 views today