Select Page

วันที่ 24 มิถุนายน 2567 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สื่อสร้างสรรค์ เพื่อการสื่อสารระหว่างเด็กเล็ก ครู ผู้ปกครอง ภาคีเครือข่ายชุมชน และพัฒนากระบวนการถ่ายทอดนวัตกรรมการใช้ภาษาไทยควบคู่ภาษาพื้นถิ่นในวิถีวัฒนธรรมประจำวัน ภายใต้ ค่าใช้จ่ายส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สื่อสร้างสรรค์ ในวิถีพหุวัฒนธรรม ตามบริบทของพื้นที่ โดยมีนาวาเอกจักรพงษ์ อภิมหาธรรม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน ศอ.บต. ร่วมพบปะ ณ โรงแรมยะลาแกรนด์พาเลซ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

สำหรับกิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัย ก่อนที่จะเข้าสู่สถานศึกษาในระดับที่สูงขึ้น โดยได้มีการบูรณาการร่วมกับ สสส. หนุนเสริมการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมของสถานศึกษาผ่านการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง เด็ก ครู ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่ายในชุมชน สร้างโอกาสการพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อม เพื่อให้เกิดการยอมรับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ด้วยการใช้กระบวนการเรียนรู้สื่อสร้างสรรค์ ภายใต้หลักคิด สื่อ 3 ดี “สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิคุ้มกันที่ดี” เป็นแนวทางในการพัฒนาครู ผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และสสส. เป็นผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม สืบเสาะ คิดค้น วัสดุในท้องถิ่น นำมาออกแบบ พัฒนาเป็นสื่อ เพื่อเรียนรู้สำหรับเด็กตามบริบทของพื้นที่และรื้อฟื้นการละเล่น พื้นถิ่นเมื่อวันวาน สืบสานวิถีไทย วิถีถิ่น ที่กำลัง จะสูญหายกลับมาเป็นสื่อให้กับเด็กได้เรียนรู้พร้อมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้กลางน้ำ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้าน พื้นที่ข้างเคียง และธนาคารสื่อฯ เป็นพื้นที่กลางในการจัดกิจกรรมและจัดเก็บสื่อฯเพื่อการเรียนรู้ปลายน้ำ ได้แก่ เด็กเล็กและประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย เป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ตัวชี้วัด เด็กเล็ก สามารถพูดภาษาไทยควบคู่ภาษาพื้นถิ่น ในชีวิตประจำวันได้ และประชาชนร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรม บนพื้นฐาน สังคมพหุวัฒนธรรมอย่างมีความสุขสำหรับสื่อสร้างสรรค์ ซึ่งเกิดขึ้นจากผลผลิตของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สื่อสร้างสรรค์ ในวิถีพหุวัฒนธรรมตามบริบทของพื้นที่ ได้แก่สถานศึกษาในสังกัดอปท. และภาคีเครือข่ายในชุมชน ที่ร่วมกันผลิตขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับ เด็ก โดยเก็บไว้ ณ สถานศึกษาในสังกัด บ้านของเด็ก และส่งมอบให้แก่ธนาคารสื่อสร้างสรรค์ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ Education Zone ชั้น 4 ศูนย์ราชการจชต. (ศอ.บต.) ซึ่งเปิดเป็นพื้นที่เป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและ กลุ่มเป้าหมายทั่วไปที่จะเข้ามาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรม Walk-rally กิจกรรมส่งเสริมกระบวนการ เรียนรู้สื่อสร้างสรรค์ ในวิถีพหุวัฒนธรรมตามบริบทของพื้นที่

โดยภายในกิจกรรมแบ่งเป็น 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การเสริมสร้างความเข้าใจและการเรียนรู้ผ่านสื่อสร้างสรรค์ตามบริบททางวัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สื่อสร้างสรรค์ ในพื้นที่ Education Zone ศอ.บต.(ชั้น4) “ธนาคารสื่อสร้างสรรค์”

 132 total views,  1 views today