Select Page
    สืบเนื่องจากการลงพื้นที่ตรวจราชการของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 การตรวจราชการในพื้นที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 และการประชุมที่ศาลากลางจังหวัดปัตตานี วันที่ 4 เมษายน 2561 ได้มอบนโยบายและข้อสั่งการให้ ศอ.บต. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการเชื่อมโยงทุกมิติโดยไร้รอยต่อ อาทิ การพัฒนาเศรษฐกิจ ให้มีการเชื่อมโยงการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงระบบการตลาดที่ปลายน้ำ และให้มุ่งเน้นการตลาดนำการผลิต รวมทั้งให้มีการเชื่อมโยงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (การศึกษา) ให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานในภาคเศรษฐกิจด้วยเหตุผลดังกล่าว ประกอบกับการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ศอ.บต. จึงได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจ หน้าที่ โดยมีบทบาทหลักในการเชื่อมโยงการพัฒนาทุกมิติ การเสริมและเชื่อมต่องานพัฒนาของหน่วยงานภาคพลเรือนไม่ให้เกิดช่องว่าง การเร่งรัดการดำเนินงานของหน่วยต่างๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และการสนับสนุน กอ.รมน. ภาค 4 สน. ในการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
    โดยในวันนี้ (29 ตุลาคม 2561) เวลา 09.00 น. ที่ ห้องประชุมน้อมเกล้า  ศอ.บต. ได้เชิญผู้แทนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 4 ส่วน จาก 14 เขตพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 จังหวัดภาคใต้ เพื่อร่วมหารือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ให้สอดรับกับนโยบายของภาครัฐและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทั้ง 2 ระบบคือ การผลิตและการตลาด โดย 4 ภาคส่วนประกอบด้วย 1.หน่วยงานของรัฐด้านการพัฒนา/สนับสนุนการพัฒนา อันได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตร กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงดิจิตัล กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม  2.หน่วยงานด้านการศึกษา ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยในพื้นที่ 5 จชต. วิทยาลัยชุมชน 3. หน่วยงานในพื้นที่  ได้แก่ จังหวัดทั้ง 5 จังหวัด และส่วนภาครัฐที่มีหน้าที่เร่งรัดผลักดันโครงการ ตลอดจนหน่วยงานด้านความมั่นคง 4. หน่วยงานภาคเอกชน ได้แก่ หอการค้าจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส ผู้ประกอบการด้านเกษตรอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในอนาคต ศอ.บต.จะเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกรูปแบบ
    ด้านพลเรือตรีสมเกียรติ ผลประยูร รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวด้วยว่า เป้าหมายการจัดการประชุมในครั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจแบบไร้ร้อยต่อ ขานรับข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี โดยเชิญ หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อประชุมหารือร่วมกัน ภาครัฐ ส่วนเกี่ยวข้องงานพัฒนา (Function) อาทิ หน่วยงานด้านการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ คมนาคม ดิจิตัล ฯลฯ  หน่วยงานพื้นที่ (Area) อาทิ จังหวัด ทั้ง 5 จังหวัดชายแดนใต้ หน่วยงานภาคเอกชนที่ร่วมพัฒนา (PPP) อาทิ ผู้แทนนิคมอุตสาหกรรมภาคเอกชน หน่วยงานด้านทรัพยากรมนุษย์ หรือสถาบันการศึกษา ผลิตเยาวชนเข้าสู่ภาคแรงงาน และ ตัวแทนภาคประชาชน ทุกภาคส่วนจะมาระดมหารือการชี้แจงกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจ (เป้าหมาย  ความก้าวหน้า การพัฒนาในอนาคต ฯลฯ) ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่เมืองต้นแบบ พื้นที่อุตสาหกรรม ในพื้นที่ 5 จชต.รวม 14 พื้นที่ หารือแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนในรูปแบบคณะกรรมการ/อนุกรรมการ หารือในประเด็นอุปสรรคการพัฒนา ในแง่กฎระเบียบ ข้อกฎหมายที่ต้องเร่งดำเนินการปรับปรุงเร่งด่วน และหารือแนวทางการเชื่อมโยงการนำผลผลิตจากสถานศึกษาสู่การแสวงหาอาชีพ (ทั้งที่จบการศึกษาในประเทศและต่างประเทศโดยมี ผลสัมฤทธิ์ด้านการพัฒนา จากการขับเคลื่อนในลักษณะไร้รอยต่อตามแนวทางนี้ จัดทำแผนงานเชื่อมโยงการพัฒนา เขตเศรษฐกิจเพื่อให้การบริหารจัดการและเกิดเป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจไร้รอยต่อ สามารถดำเนินการเป็นรูปธรรมโดยเร็วตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีโดยมี ศอ.บต. เป็นศูนย์กลางนั้น ประกอบด้วย 14 เขตพื้นที่อันได้แก่ 1. โครงการนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) หรือการนิคมอุตสาหกรรม ในตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีขนาดพื้นที่ 1,218 ไร่ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเชิง Cluster สำหรับอุตสาหกรรมยางกลางน้ำและปลายน้ำ โดยพื้นที่ Premium Zone เน้นรองรับอุตสาหกรรมทั่วไปหรือ ที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมยางพารา โดยเป็นอุตสาหกรรมสะอาดที่ไม่มีมลพิษ (Clean Industry) จำนวน 20 แปลง (438 ไร่) และพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมยางพาราขั้นกลางและขั้นปลาย จำนวน 77 แปลง (779 ไร่) 2.เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา (อำเภอสะเดา) ครอบคลุมใน 4 ตำบล ได้แก่ สะเดา, สำนักขาม, สำนักแต้ว, และ   ปาดัง-เบซาร์ รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 552.3 ตารางกิโลเมตร โดยกำหนดเป้าหมายให้เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ 3. เมืองต้นแบบที่ 4 อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เมืองแห่งอุตสาหกรรมอนาคตประกอบด้วย ท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2, การสร้างรางรถไฟเชื่อมโยงท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2, พลังงานไฟฟ้าทางเลือก (Energy Complex) และนิคมอุตสาหกรรมจะนะ 4.อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ได้กำหนดเป้าหมายให้เป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าและการคมนาคมขนส่งทางน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 700 ไร่ ของตำบลปากบาง 5. อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่อง 3 อำเภอในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเมืองต้นแบบสำหรับการพัฒนา โดยกำหนดเป้าหมายให้เป็นเมืองต้นแบบเกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้าผสมผสาน ครอบคลุมทั่วพื้นที่ของอำเภอ 6. เขตประกอบอุตสาหกรรมบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป้าหมายเพื่อการพลิกฟื้นชีวิตเขตประกอบอุตสาหกรรม ที่มีโรงงาน ประมาณ 323 โรงงาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 939 ไร่ ของตำบลบานา ให้มีความมั่นคง และสร้างความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในพื้นที่ให้กลับมาโดยเร็ว 7. เขตนิคมอุตสาหกรรมปะนาเระ จังหวัดปัตตานี กำหนดให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมพื้นฐานระดับครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 173 ไร่ ของตำบลน้ำบ่อ 8. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดนราธิวาส ได้กำหนดตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองให้เป็นศูนย์กลางการบริหารกิจกรรมการค้าชายแดนของพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 9. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดนราธิวาส ได้กำหนดตำบลละหาร อำเภอยี่งอ มีพื้นที่ประมาณ 40.398ตารางกิโลเมตร (25,248.75 ไร่) โดยกำหนดเป้าหมายเป็น Trade Modern Simply เมืองรองรับกิจกรรมภาคอุตสาหกรรม – ภาคการเกษตร/ศูนย์โลจิสติกส์  10. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดนราธิวาส ได้กำหนดตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบเป็น Culture Barrier @Takbai ศูนย์โลจิสติกส์และการขนส่งทางน้ำ / การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 11.เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดนราธิวาส (ตำบลสุไหง โก-ลก อำเภอสุไหง โก-ลก) ได้กำหนดตำบลสุไหง โก-ลก อำเภอสุไหง โก-ลก เป็น Sporting Recreation @Kolok เมืองศูนย์กลางการค้าและท่องเที่ยวชายแดน เน้นการท่องเที่ยวแบบสนุกสนานและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพพื้นที่ประมาณ 22.50 ตารางกิโลเมตร 12. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดนราธิวาส ได้กำหนดตำบลโล๊ะจูด อำเภอแว้ง เป็น Eco – Roaming @Bala เมืองรองรับการขนส่งชายแดน และเมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 13. อำเภอ สุ ไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส  เป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่อง 3 อำเภอในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเมืองต้นแบบสำหรับการพัฒนา โดยกำหนดเป้าหมายให้เป็นเมืองต้นแบบศูนย์กลางการค้าขายแดนระหว่างประเทศ ครอบคลุมทั่วพื้นที่ของอำเภอ และ 14. อำเภอเบตง จังหวัดยะลา  เป็นเมืองต้นแบบสำหรับการพัฒนา ก่อสร้างสนามบินเบตง โดยกำหนดเป้าหมายให้เป็นเมืองต้นแบบการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั่วพื้นที่ของอำเภอ
    พร้อมกันนี้ผู้แทนทั้ง 14 เขตเศรษฐกิจจะได้มีการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าของโครงการต่างๆในพื้นที่เขตเศรษฐกิจทั้ง 14 เขตภายใต้บทบาทและภารกิจที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงานให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา พร้อมปัญหาและอุปสรรค ในการดำเนินการต่างๆ ต่อไป

 481 total views,  1 views today