Select Page

     จากนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในฐานะหน่วยงานบูรณาการร่วม เพื่อป้องกัน ปราบปรามไม่ให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้ใช้ยาเสพติดรายใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีการปฏิบัติร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในสถานศึกษาและหมู่บ้าน ตลอดจนชุมชน ร่วมกันปราบปราม และเน้นการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อลดจำนวนผู้ค้ารายย่อยในระดับหมู่บ้านเป็นสำคัญ ด้วยการใช้กฎหมายพิเศษสนับสนุนการปฏิบัติ มีเป้าหมายขั้นต้นร่วมกัน 5,000 ราย และในด้านการบำบัดรักษา จะช่วยเหลือผู้เสพยาเสพติดทุกระดับ ทั้งระดับผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติด  และเป็นโรคจิตเภท (ประสาทหลอน) ด้วยการบำบัดรักษาตามระบบของรัฐบาล และระบบอื่น ๆ โดยเน้นให้เกิดระบบสมัครใจให้มากที่สุด มีเป้าหมายในระยะ 3 เดือนนี้ ไม่น้อยกว่า 5,000 คน และจะดำเนินการให้ได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 คน ในระยะต่อไป

     นอกจากนี้ในปีงบประมาณ 2562  ศอ.บต. ได้รับมอบหมายจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ให้เป็นหน่วยสนับสนุนในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ผ่านการบำบัดรักษาที่หายขาดจากการติดยาเสพติด จากทุกระบบ ทุกหน่วยงาน ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2560-2564 ยุทธศาสตร์ที่ 6 การติดตาม พัฒนาคุณภาพชีวิต ขยายผลความมั่นคง กลยุทธการบำบัดรักษายาเสพติดในแผนงานช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด

     นายสนั่น สนธิเมือง ผู้อำนวยการสำนักประสานนโยบายสังคมจิตวิทยา ศอ.บต. ให้สัมภาษณ์ว่า ในมิตินโยบายของแม่ทัพภาคที่ 4  ซึ่งเป็นวาระเร่งด่วนในการที่จะแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งระบบ ในส่วนนี้แม่ทัพภาค 4 ได้ให้ความสำคัญและเน้นย้ำ รวมทั้งเป็นนโยบายสำคัญ มีทั้งในเรื่องของการป้องกัน การปราบปราม การบำบัด ซึ่งแนวทางการบำบัดตั้งเป้าไว้ 10,000 คน หลังจากการบำบัดแล้ว ทาง ศอ.บต. จะเป็นหน่วยหลักในการที่จะส่งเสริมด้านอาชีพผู้ที่ผ่านการบำบัดและหายขาดซึ่ง ทาง ศอ.บต. ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลในการฝึกอาชีพให้ผู้ผ่านการบำบัด ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน โดยได้มีการดำเนินการไปแล้วประมาณ 3,000 กว่าราย ซึ่งทางจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ ในการคัดกรองเพื่อฝึกอาชีพตลอดจนการประเมินผู้ผ่านการบำบัด สำหรับในปี

 100 total views,  1 views today