Select Page

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ที่ห้องประชุมเจริญจิตต์ ณ สงขลา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. พร้อมด้วยผู้บริหาร ศอ.บต. และคณะทำงานศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศบค. ศอ.บต.) ร่วมประชุมติดตามสถานการณ์เฝ้าระวังป้องกันการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ในพื้นที่จังหวัดจังหวัดชายแดนภาคใต้
ครั้งที่ 4/2564 มติการประชุมเลขาธิการ ศอ.บต. ได้เน้นย้ำเรื่องสถานการณ์และแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโควิด – 19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการติดตามการบริหารจัดการเพื่อจัดหาอาชีพให้คนไทยที่เดินทาง
กลับมาจากประเทศมาเลเซีย และคนไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่กำลังว่างงาน และสนใจกลับไปทำงานภาคเกษตรในประเทศมาเลเซียอีกครั้ง โดย ศอ.บต. ร่วมกับสภาเกษตรกร 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดให้มีการลงทะเบียนเกษตรกร
ที่สนใจไปทำงานในประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่บัดนี้จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ หลังจากสิ้นสุดการลงทะเบียน ศอ.บต.  จะเร่งดำเนินการฝึกอบรมทักษะอาชีพการเกษตร และทักษะการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขภายใต้สถานการณ์โควิค – 19 แก่เกษตรกรที่ลงทะเบียนเพื่อสร้างการรับรู้เข้าใจ ความเข้าใจ ในการเตรียมความพร้อมการทำงานเพื่อให้เป็นแรงงานที่มีประสิทธิภาพ

เลขาธิการ ศอ.บต. ได้เน้นย้ำว่าจะช่วยเหลือเต็มความสามารถ และเร่งติดตาม ประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อรายงานให้ท่านนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และพร้อมให้การสนับสนุนทุกภาคส่วนหลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 สำหรับด้านการให้ความสนับสนุนกับหน่วยงานที่ดูแลการเรื่องโควิด – 19 โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่กำลังประสบกับปัญหาการว่างงาน และตกงานจำนวนมากนั้น เนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการระบาดอย่างต่อเนื่องจึงจำเป็นต้องปิดชุมชน และสถานที่ต่างๆ ทำให้ 31 หมู่บ้านกว่า 6,000 หลังคาเรือนต้องได้รับผลกระทบ คาดว่าถ้าไม่พบเชื้อหลัง 14 วัน อาจจะมีการเปิดหมู่บ้านได้ตามปกติ นอกจากนี้ ศอ.บต. ได้สั่งซื้อฟักทองจากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เพื่อนำมาแจกจ่ายแก่ประชาชนให้ใช้ประกอบอาหารในระหว่างที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน และยังเป็นการช่วยเหลือช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกฟักทองในเบื้องต้นอีกด้วย

สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2564 พบผู้ติดเชื้อเพิ่มสะสม 2,259 ราย โดยแบ่งเป็นจังหวัดยะลามีผู้ป่วยสะสม 188 ราย รักษาหาย 103 ราย เสียชีวิต 4 ราย จังหวัดปัตตานีมีผู้ป่วยสะสม 285 ราย รักษาหาย 220 ราย เสียชีวิต 0 ราย จังหวัดนราธิวาสมีผู้ป่วยสะสม 645 ราย รักษาหาย 554 ราย เสียชีวิต 0 ราย จังหวัดสตูลมีผู้ป่วยสะสม 42 ราย รักษาหายราย 42 เสียชีวิต 0 ราย และจังหวัดสงขลามีผู้ป่วยสะสม 1,099 ราย รักษาหาย 736 ราย เสียชีวิต 5 ราย แนวโน้มสถานการณ์โรค โควิด-19 ระลอกเดือนพฤษภาคม ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีแนวโน้มที่ดีขึ้น พบผู้ติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ปัจจัยเสี่ยงเกิดการติดต่อกันภายในครอบครัว/เครือญาติ สมาชิกครอบครัวของผู้ติดเชื้อ กิจกรรมเสี่ยงรวมกลุ่มย่อยในชุมชน และตลาดในชุมชนที่ไม่ได้เว้นระยะห่าง

ทั้งนี้ในที่ประชุม ศบค. ศอ.บต. ได้มีข้อเสนอแนะ ให้เผยแพร่ข้อมูลการสร้างการรับรู้และความเข้าใจถึงความเคร่งครัดของมาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด–19 ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัดซีน รวมถึงความปลอดภัย
ในการฉีดวัดซีนแก่ประชาชน โดยมีผู้นำศาสนา บุคลากรทางการแพทย์ และบัณฑิตอาสาฯ ในพื้นที่แต่ละตำบล ให้ความรู้ในเชิงลึกถึงการสร้างความเข้าใจในสถานการณ์โควิด-19 ต่อความตระหนักและรณรงค์การรับวัดซีนโควิด-19
แก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น

 439 total views,  1 views today